วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7



RECENT POSTS

Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran

Friday,October 3 ,2014.
Thime 13.00 to 16.40 pm.







ความรู้ที่ได้รับ

บทความที่เพื่อนออกมานำเสนอ
1.การพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.สอนลูกเรื่องแสงและเงา
3.สอนเรื่องแรงโนม้ถ่วง
4.สอนลูกเรื่องไฟฉาย


การพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

           การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการแสวง หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถหรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกฝนกระ บวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ การค้นหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเหมาะสมกับเด็กในช่วงปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น และทักษะการพยากรณ์

สอนลูกเรื่องแสงและเงา

         การสอนลูกเรื่องแสงและเงา (Teaching Children about Light and Shadow) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้ และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ แสงจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพืชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่คนเราทำขึ้น เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกและจักรวาล และเป็นประโยชน์ที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะมีแสงสว่างช่วยให้คนเรามองเห็น และแสงทำให้เกิดเงา ร่มเงาก็เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ได้อาศัยคลายร้อน ในขณะเดียวกัน หากไม่รู้ถึงโทษของสิ่งเหลานี้ ก็จะทำให้เกิดอันตรายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การที่เด็กๆเพ่งมองดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแรงจ้า ก็จะเป็นอันตรายแก่สายตา หรือการที่ปล่อยให้แสงแดดแผดเผาผิวกาย ก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังคือ เกิดแผลไหม้เกรียม แสงอาจเกิดจากการเผาไหม้ของวัตถุเช่น เทียน แก๊ส น้ำมัน พืช แสงเหล่านี้อาจเกิดการเผาไหม้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ทำให้เกิด เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้มลภาวะเป็นพิษในโลกนี้ ดังนั้น ธรรมชาติเรื่องแสงและเงาเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา จึงควรได้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

สอนเรื่องแรงโนม้ถ่วง

           เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นเนื้อหาสาระวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ที่เชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี สาระที่ 4: แรงและการเคลื่อนที่ มาตรฐาน ว 4.1: เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม เรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งความเป็นธรรมชาติกับความเป็นวิทยาศาสตร์คือเรื่องเดียวกัน จึงเป็นความจำเป็นที่เด็กควรได้รับการจัดประสบการณ์ ให้เกิดความสามารถที่จะเก็บเกี่ยวความรู้ ความเข้าใจในประโยชน์ของธรรมชาติและการนำไป ใช้ในการดำรงชีวิต ดังที่นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงวิทยาศาสตร์กับธรรมชาติมีความสัมพันธ์กัน ดังเช่น ภพ เลาหไพ บูลย์ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการการแสวงหาความรู้ทางวิทยา ศาสตร์ วิธีทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เมื่อเด็กได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์นั้น จะช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาการตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คือ การส่งเสริมให้เด็กเกิดพัฒนาการ 4 ด้านคือ
               ด้านร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสเรียนรู้
              ด้านอารมณ์และจิตใจ ได้ รับการตอบสนองความต้องการและความสนใจของเด็ก
              ด้านสังคมเด็กได้มีกิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น รู้จักกฎ กติกา ระเบียบของสังคม
              และด้านสติปัญญา รู้จักการคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจและได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ด้วยตนเอง



สอนลูกเรื่องไฟฉาย

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องไฟฉายให้แก่เด็กปฐมวัย จะเกิดประโยชน์ต่อเด็กตามความมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 หากครูได้จัดกิจกรรมที่เน้นเด็กเป็นสำคัญตามหลักการของหลักสูตร ทั้งนี้จะเกิดประโยชน์ต่อเด็กได้ดังนี้คือเมื่อเด็กได้มีโอกาสสืบเสาะหาความรู้เรื่องไฟฉาย ได้แก่ แสงฉายมาจากไหน ทำไมคนเราต้องใช้แสงฉาย เมื่อได้ความรู้มาแล้ว เด็กจะได้ฝึกหัดอธิบายเรื่องที่ศึกษามา สำหรับเด็กปฐมวัยควรฝึกด้วยวิธีง่ายๆจากธรรมชาติเบื้องต้นก่อน คือ การพูด บอกเล่าสิ่งได้เห็น ได้ฟัง ได้สัมผัสมา เป็นต้น แต่เด็กที่มีความสามารถมักจะสื่อสารวิธีที่ยากกว่า เช่น วาดรูป หรือเขียนข้อความ เป็นต้น การค้นคว้าหาความรู้เช่นนี้ เป็นประโยชน์ต่อเด็กที่จะทำให้เด็กเป็นผู้รู้จักการสังเกต รู้จักการถาม และ รู้จักการคาดคะเน หรือการตั้งสมมติฐานที่จะนำไปสู่การกำหนดวิธีการสืบหาความจริงต่อไปเด็กได้ทำการทดลองใช้ไฟฉาย เช่น เปิดสวิทซ์ไฟที่กระบอกไฟ ส่องแสงไฟฉายในที่มืดจะเกิดอะไรขึ้น เป็นต้น การที่เด็กได้เป็นผู้ปฏิบัติทดลองสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ย่อมทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อเกิดการเรียนรู้ เด็กได้ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีคือไฟฉายและวิธีการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสำรวจตรวจสอบ จะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆต่อไป เด็กจะเป็นผู้ที่มีความสามรถในการอธิบายสิ่งที่ค้นพบตามข้อมูลหลักฐานและองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล เนื่องจากเด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการกระทำในสภาพจริง เช่น การใช้ไฟฉายส่องผ่านในที่มืดจะเห็นวัตถุต่างๆ เพราะมีแสงจากไฟฉาย หรือแสงที่ส่องออกไปเดินทางเป็นเส้นตรง แสงจากไฟฉายมีระดับความร้อนแตกต่างจากแสงดวงอาทิตย์ แสงไฟฉายต้องอาศัยวัตถุที่บรรจุลงในกระบอกไฟฉายจึงจะเกิดแสง เป็นต้นเด็กจะเป็นผู้มีความสามารถในการนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างชัดเจนเที่ยงตรง มีเหตุผลกับเพื่อนร่วมงาน และตอบคำถามได้ เนื่องจากได้รับการฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ โดยมีเรื่องไฟฉายเป็นสาระนำทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ 
             ทักษะสังเกต (แสงเดินทางเป็นเส้นตรง แสงจากไฟฉายมีสีเหลืองอ่อน แสงไฟฉายจะสว่างหรือดับ เกิดจากคนเราเป็นผู้ กระทำบังคับสวิทช์ เปิดปิดเอง เป็นต้น) 
                 ทักษะจำแนกประเภท (จัดกลุ่มไฟฉายตามขนาดใหญ่ เล็ก สี รูปแบบ ฯ) 
                 ทักษะการวัด (วัดความยาวของกระบอกไฟฉาย นับจำนวนถ่านไฟฉาย) 
               ทักษะการสื่อความหมาย (อธิบายเหตุที่เกิดแสง วาดภาพไฟฉาย และลักษณะของลำแสง)ดังนั้นการให้เด็กได้มีโอกาสปฏิบัติด้วยตนเองด้วยการสืบค้นผ่านการสังเกตการทดลอง ใช้ไฟฉายที่เป็นเครื่องมือเทคโนโลยีชนิดหนึ่ง มีโอกาสร่วมคิดร่วมทำงานร่วมกับผู้อื่น จะเป็นประโยชน์ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของเด็กได้ตามความคาดหวังของสังคม

กิจกรรมที่ทำวันนี้ คือ แกนทิชชู่เคลื่อนที่

อุปกรณ์
1.แกนทิชชู่ตัดครึ่ง
2.ปากกาเมจิก
3.กระดาษสี
4.ปากกาเมจิก

วิธีทำ
 นำกระดาษทิชชู่ที่ตัดครึ่งแล้วมาเจาะรูตรงกลางทั้งสองข้าง
 นำเชือกไหมพรหมมาผูก
  ตกแต่งให้สวยงาม

วิธีการเล่น
  ให้นำเชือกคล้องคอแล้วค่อยดึงให้แกนทิชชู่ขึ้นไปข้างบนแล้วปล่อยลงมา

การนำไปประยุกต์ใช้

    กิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำสามารถนำไปสอนเด็กได้เวลาไปฝึกสอน เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กสามารถทำได้เด็กจะได้คิดวิธีการเล่น

ประเมินตนเอง

 ตอนอาจารย์ให้ทำกิจกรรมไม่รู้ว่าจะเล่นยังไง พอทำเสร็จก็ลองหาวิธีการเล่นก็สามารถเล่นได้

ประเมินเพื่อน

เพื่อนช่วยกันคิดหาวิธีให้แกนทิชชู่สามารถเคลื่อนที่ได้

ประเมินอาจารย์ 

อาจารย์สอนวิธีการทำแกนทิชชู่เคลื่อนที่ แต่ยังไม่บอกวิธีการเล่นแต่ให้นักศึกษาได้ช่วยกันคิดก่อนว่าจะเล่นอย่างไหร่ และใครมีวิธีการเล่นแบบไหน อาจารย์ให้ตัวแทนออกไปสาธิตวิธีการเล่นที่หลากหลายก่อนแล้วอาจารย์ค่อยเฉลยว่าแกนทิชชู่เคลื่อนที่มีวิธีการเล่นอย่างไร




                                                        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น