RECENT POSTS
Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
Friday,September 26 ,2014.
Thime 13.00 to 16.40 pm.
ความรู้ที่ได้รับ
เพื่อนออกมานำเสนอบทความ คือ
1.วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
2.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
4.สอนลูกเรื่องอากาศ
5.ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์
ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด
ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์
มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น
รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม
นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์
การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง
ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์
เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์
รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ
ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย อย่างไรก็ตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน
สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ
พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย
พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3
ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์หมายถึงการสืบค้นและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ
สภาพแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ หรือวิทยาศาสตร์หมายถึง
ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ
โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผน ความรู้ของข้อมูลต่างๆ
ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ
ตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต
มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ
วิทยาศาสตร์มีขอบข่ายการศึกษาค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยสรุปแล้วก็คือ
การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่สมัยโบราณ
มนุษย์พยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ
กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต
แล้วสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ
เป็นต้น
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
การสอนการคิดในระดับปฐมวัยมีความสำคัญมากในปัจจุบันดังที่
คอสเทลโล(Costello.2000:
4-5)ได้แสดงความคิดเห็นถึงการสนับสนุนการสอนการคิดในระดับปฐมวัยว่าการจัดการเรียนการสอนการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยในปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเพราะการคิดเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ
เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.1999 กระทรวงการศึกษา ของประเทศอังกฤษ ได้จัดการประชุมเรื่อง
โรงเรียนแห่งการคิดไปสู่ห้องเรียนแห่งการคิด
ในการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบไปด้วยผู้บริหารทางการศึกษาและเจ้าหน้าที่ทางการศึกษา
ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการประชุมไว้ 5
ประการดังนี้คือประการแรกเพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในปัจจุบันเกี่ยวกับทักษะการคิดและบทบาทของเด็กๆในกระบวนการเรียนรู้
ประการที่สองเพื่อระบุวิธีการในปัจจุบันที่มีต่อการพัฒนาการคิดของเด็กและการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ
ประการที่สามเพื่อพิจารณาว่าทำอย่างไรครูจะสามารถบูรณาการทักษะการคิดเข้าไปในการเรียนการสอนของครู
ประการที่สี่เพื่อระบุบทบาทในการใช้
นวัตกรรมทางการสื่อสารและข้อมูลในการสนับสนุนการเข้าถึงทักษะการคิดของเด็ก ประการที่ห้าประเมินการวิจัยในปัจจุบันและอนาคตจากคำถามที่ว่าทำอย่างไรจะสามารถนำการคิดเข้าสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
ดังนั้นจะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาให้ความสำคัญต่อการสอนคิดตั้งแต่ระดับปฐมวัยโดยบูรณาการทักษะการคิดเข้าไปในการเรียนการสอนของครูและระบุบทบาทในการใช้นวัตกรรมทางการสื่อสารและข้อมูลในการสนับสนุนการเข้าถึงทักษะการคิดของเด็กในชั้นเรียน
สอนลูกเรื่องอากาศ
การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching
Children about weather) หมายถึง
การจัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ
รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น
ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง
อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา
ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย
เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร
เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง
รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร
มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น
หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น
ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน
ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก
เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก
และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ
เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง
จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย
ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่วิทยาศาสตร์
ธรรมชาติของเด็กๆ
นั้น มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งรอบตัวตลอดเวลา
เพราะเป็นวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด
หากเด็กได้รับการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเขา
จะทำให้ศักยภาพในการเรียนรู้ของเขาพัฒนาได้เต็มที่ ทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์นับเป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กๆ สามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเขา
ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่
ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ
ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ แล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง
และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น
การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำ กิจกรรมกังหัน
อุปกรณ์
1.กระดาษ
2.คลิปหนีบกระดาษ
วิธีทำ
อาจารย์ให้แถวที่ 1-2 พับกระดาษสองข้างให้ได้กึ่งกลางให้ใช้คลิปหนีบกระดาษ
ให้แถวที่ 3-5 พับจากข้างบนลงมาครึ่งนึงของกึ่งกลางแล้วใช้คลิปหนีบกระดาษ
วิธีการเล่น
ให้โดนขึ้นข้างบนแล้วกระดาษจะหมุนลงมา
แถวที่ 1-2 พอโยนขึ้นไปแล้วกระดาษหมุนลงมาอย่างสวยงาม
แถวที่ 3-5 พอโยนขึ้นไปแล้วบางคนกระดาษไม่ค่อยหมุน บางคนก็หมุนลงมา
อาจารย์อธิบายหน่วยการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม
-หน่วยส้ม
-หน่วยกล้วย
-หน่วยกะหล่ำปี
-หน่วยดอกมะลิ
-หน่วยผีเสื้อ
-หน่วยไก่
-หน่วยกบ
-หน่วยปลา
-หน่วยแปรงสีฟัน
การประยุกต์ใช้
ใช้ในการเลือกหน่วยในการสอนให้เหมาะสม รู้ว่าในหนึ่งหน่วยต้องประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง และจะสอนเด็กเรื่องอะไรต้องสอดแทรกคำศัทพ์ลงในหน่วยด้วยเพราะจะเปิดรับสู่ประชาคมอาเซียน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนตั้งใจจดเวลาอาจารย์อธิบาย บางครั้งหันไปฟังเพื่อนทำให้ขาดสมาธิไปบางช่วง
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจฟังและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในวันนี้
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมกิจกรรมมาให้ทำทุกครั้ง อธิบายเนื้อหาให้เห็นชัดเจนต้องไหนที่ยังไม่เข้าใจเนื้อหาตกลงอาจารย์จะอธิบายย้ำอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น