RECENT POSTS
Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
Friday,September 12 ,2014.
Thime 13.00 to 16.40 pm.
ความรู้ที่ได้รับ
วิทยาศาสตร์ หมายถึง การสืบค้นและจัดระบบความจริงเกียวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศสาตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทกลอง เพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
วันนี้เพื่อนออกมานำเสนอบทความเรื่อง
1.การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.วิทยาศาสตร์และการทดลอง
3.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย เทคนิคการเลือกและการเล่านิทาน
การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น
ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่
เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า
เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง
เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน
สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้
พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ
การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์
เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์
และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
วิทยาศาสตร์และการทดลอง เรื่อง ไข่เอย...จงนิ่ม
มาเสกให้ไข่ไก่นิ่มกันเถอะ
สิ่งที่ต้องใช้
-แก้ว 1 ใบ
-ไข่ไก่ 1 ฟอง
-น้ำส้มสายชู
วิธีทดลอง
-นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้ว
-เทน้ำส้มสายชูลงไปให้ท่วมไข่
-ทิ้งไว้ 1 คืน
อดใจรอนะพอตอนเช้าเทน้ำออกก็แล้วลองจับไข่ดูซิ..
เพราะอะไรกันนะ
น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติก
ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่แข็ง เมื่อถูกละลายหายไป เปลือกไข่จึงนิ่ม
เปลือกไข่ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต
จึงทำให้เปลือกไข่แข็ง ไม่แตกง่าย
เมื่อนำมาทำปฏิกริยากับน้ำส้มสายชูซึ่งมีกรดอะซิติกเป็นองค์ประกอบ แคลเซียมคาร์บอเนตและกรดอะซิติกจะทำปฏิกริยาเคมีต่อกัน
ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา สามารถสังเกตได้จากฟองอากาศที่เกิดขึ้น
และการที่เปลือกไข่นิ่ม เนื่องจากเปลือกไข่มีการสูญเสียคาร์บอนนั่นเอง
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย เทคนิคการเลือกและการเล่านิทาน
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป
เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย
ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กๆ
เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ
เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น
ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว
ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้
ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน
จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า
แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้
ข้อควรระวังในการเล่านิทาน
ก็คือ เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวังก็ไม่ควรปฏิเสธ
เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่อาจจะเฉยๆ
ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน
เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่าจะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด
การประยุกต์ใช้
นำมาประยุกต์การสอนให้เด็กรู้จักค้นคว้า สืบค้น และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว
รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจเรียนและจดความรู้เพิ่มเติม รู้ว่าแนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มีหลายแนวคิด
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์ อาจมีการพูดคุยกันบ้างแต่เสียงไม่ดัง
ประเมินอาจารย์
เวลาอาจารย์สอนเนื้อหาจะอธิบายให้เห็นรายละเอียดชัดเจน มีการทบทวนเนื้อหาที่สอนไปแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น