RECENT POSTS
Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
Friday,September 19 ,2014.
Thime 13.00 to 16.40 pm.
ความรู้ที่ได้รับ
บทความที่เพื่อนออกมานำเสนอวันนี้ คือ
1.สอนลูกเรียนปรากฏการณ์ธรรมชาติ
2.สอนลูกเรื่องสัตว์
3.สนุกเป่ากับวิทยาศาสตร์
สอนลูกเรียนปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
(Natural
phenomena) มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน เช่น การเกิดภาวะโลกร้อน
วิกฤติการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งสภาวการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้เกิดภาวะนั้นๆ
เช่น มนุษย์ทำลายธรรมชาติ ตัดไม้ทำลายป่า แหล่งน้ำ บุกรุกผืนป่า
ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และเมื่อมีปริมาณฝนมากส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วม
เนื่องจากขาดต้นไม้ที่จะดูดซับหรือกักเก็บน้ำ
อีกทั้งการเกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันที่ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น ลักษณะดังกล่าวนี้เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและยานยนต์เครื่องจักรกลต่างๆที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ได้ใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงและอำนวยความสะดวก
เช่น รถยนต์ รถ
ดังนั้นการปลูกฝังหรือเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
ที่จะทำให้เด็กได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางลบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นเบื้องต้น
การที่เด็กได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลในอนาคต
ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว
กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน
เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม
และการหาคำตอบ
ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert
Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ
ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม
5 ประการ คือ
ความเปลี่ยนแปลง (Change)
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
ความหลากหลาย (Variety)
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน
จึงควรให้เด็กเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
การปรับตัว (Adjustment)
ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น
จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality)
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น
นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
ความสมดุล (Equilibrium)
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต
และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้
ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ
สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น
เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้
เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้
สอนลูกเรื่องสัตว์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้หน่วยสัตว์
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้รู้จักสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงไว้ดูเล่น
สัตว์เลี้ยงไว้ใช้งาน สัตว์บก สัตว์น้ำ ลักษณะของสัตว์ ประโยชน์ของสัตว์
การเลี้ยงดูและให้อาหารสัตว์ การอนุรักษ์สัตว์ ที่อยู่อาศัย
และการดำรงชีวิตของสัตว์ นอกเหนือจากเด็กจะได้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสัตว์แล้ว
การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุด
มุ่งหมายสำคัญเพื่อบูรณาการการเรียนรู้ให้เด็กได้พัฒนาทางด้านอารมณ์
จิตใจในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีคุณ ธรรม จริยธรรม การมีความเมตตา
กรุณาต่อสัตว์ ทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้
ยังส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการด้านอื่นๆได้ทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย
จากการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี
กิจกรรมกลางแจ้ง
พัฒนาการทางด้านสังคมจากการเล่นและทำงานเป็นกลุ่มในกิจกรรมสร้างสรรค์
กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมการเล่นเกมต่างๆ
การพัฒนาทางด้านสติปัญญาจากกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทาง
ด้านคณิตศาสตร์ จากการสังเกตลักษณะของสัตว์ การนับจำนวนสัตว์
การจำแนกเปรียบเทียบประเภทสัตว์
สนุกเป่ากับวิทยาศาสตร์
ของเล่นนั้น
อยู่คู่กับเด็กทุกคน ทั้งของเล่นพื้นบ้านที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาตั้งแต่โบราณกาล
และของเล่นวิทยาศาสตร์
ที่สามารถกระตุ้นและจุดประกายความสนใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ
ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายได้ โดยเฉพาะในเรื่องของวิทยาศาสตร์พื้นฐานกิจกรรม
“สนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์” นี้เด็ก ๆ จะได้ทั้งความสนุกสนาน
ประสบการณ์ ใหม่ ๆ การแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ
ในส่วนของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนนั้นก็หาไม่ยาก ได้มาจากวัสดุในท้องถิ่น
หรือวัสดุเหลือใช้ เช่น กระดาษ ขวดพลาสติก หลอดกาแฟ แก้วพลาสติก เป็นต้น เพียงแค่ใช้กรรไกร
ไม้บรรทัด คัทเตอร์ กาว สก๊อตเทป
ผสมผสานกับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในเชิงออกแบบและเทคโนโลยีระดับประถมเข้าไป
ก็ออกมาเป็นของเล่นแสนสนุกแบบต่างๆ และสามารถอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้มากมาย
กิจกรรมที่ทำวันนี้
อาจารย์แจกอุปกรณ์และอธิบายวิธีการทำ โดยยังไม่บอกนักศึกษาว่าจะทำเป็นอะไรดี
อุปกรณ์
-กระดาษสีตัดสี่ส่วน คนละ 2 แผ่น
-ปากกาเมจิก
-กาว
-ไม้ลูกชิ้น
วิธีการทำ
1.นำกระดาษทั้งสองแผ่นมาวาดรูป โดยรูปที่วาดต้องมีความสัมพันธ์กัน
2.ระบายสีตกแต่งให้สวยงาม
3.นำกระดาษสองแผ่นมาติดกับไม้ลูกชิ้นครงกึ่งกลางของกระดาษ
4.ลองหมุนดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับภาพที่วาด
การนำไปประยุกต์ใช้
นำเทคนิค ไปสอนโดยการให้เด็กทำกิจกรรมโดยครูยังไม่บอกเด็กว่าวันนี้เราจะทำอะไรดี พอเด็กทำเสร็จให้ลองเล่นก่อนแล้วถามว่ามันน่าจะเป็นกิจกรรมอะไรดีเอ่ย หลังจากนั้นครูค่อยบอกว่ากิจกรรมนั้นคืออะไร สามารถเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับหน่วยที่จะเรียนได้
ประเมินตนเอง
ตอนอาจารย์แจกอุปกรณ์ตื่นเต้นมากไม่รู้ว่าอาจารย์จะให้ทำกิจกรรมอะไรเพราะอาจารย์ยังไม่บอกกิจกรรมที่ทำว่าเป็นกิจกรรมอะไร ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์อธิบาย
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมมาก ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์อธิบายและตอนที่เพิ่อนออกไปนำเสนอบทความช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียนชอบวิธีการที่อาจารย์สอนเพราะทำให้นักศึกษาได้ใช้คิด กล้าแสดงความคิดเห็น อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนเข้าใจง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น