วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1


RECENT POSTS

Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran

Friday,August 22,2557.
Thime 13.00 to 16.40 pm.


            สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับรายวิชาที่จะเรียนในเทอมนี้ บอกกฎกติกาในการเข้าห้องเรียน พูดเรื่องการแต่งกาย อาจารย์ให้ทำแฟ้มสะสมผลงานโดยทำลงในบล็อกบันทึกหลังการเรียนการสอนทุกอาทิตย์ อาจารย์สอนวิธีการสร้างบล็อก ในบล็อกต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง อาจารย์ให้ใส่ภาษาอังกฤษลงในบล็อกให้มากที่สุดเพราะเราจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอังกฤษจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เป็นการฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษ

            
                                                 

การประยุกต์ใช้

           นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้วิธีการสร้างบล็อกให้มีความน่าสนใจและมีเนื้อหาสาระครบถ้วน ใช้ในการเข้าห้องเรียนให้ตรงต่อเวลา เวลามีผู้พูดต้องเป็นผู้ฟังที่ดีไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น ปรับใช้วิธีการใช้ภาษาอักฤษให้มากขึ้นเวลาเรียน




              อาจารย์ให้หาบทความคนละ 1 บทความ

                                        บทความของตัวเอง

               หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหือไม่
        หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้ความสามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วน ไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ ครูปฐมวัยควรตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้เด็กแต่ละช่วงนั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยศาสตร์อะไรให้กับเด็ก และควรจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
          อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต หัวหน้าสาขาวิทยศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสาตร์และเทคโรโลยี ( สสวท. ) กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยว่า จากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 - 2549 พบว่าครูปฐมวัยสอนวิทยาศาสตร์เชิงเนื้อหามาก โดยผ่านการบอกเล่ามากกว่าจะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบ เนื้อหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด( concept ) บ้างไม่ถูกบ้าง จากการสัมภาษณ์ พบว่าครูใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ.2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทาง ได้กำหนดไว้อย่างกว้างๆใน ที่4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตร คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าแต่ละสาระ ครูจะสอนอะไร สอนแค่ไหน สอนอย่างไร และมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้
             ผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตราฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระการเรียนรู้ที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สื่งที่ครูยังมีความความต้องการนั้น ครูยังต้องการยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะๆ





ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  35000000 แต่ง hi5                                       ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  35000000 แต่ง hi5     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น